ปัจจุบัน หลาย ๆ ประเทศต่างให้ความสำคัญในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญโดยเร่งรัด ติดตาม ควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมายในประเทศอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ด้วยการนำระบบ VMS มาใช้ในการติดตามเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป แล้วทราบกันไหมครับว่า ระบบติดตามเรือประมง VMS มีประโยชน์อย่างไรบ้าง? วันนี้ อายฟลีต มีคำตอบมาฝากทุกคนครับ
สารบัญ
ทำไมเรือประมงต้องติด VMS ?
การประมงทะเลไทยในอดีต มีปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานาน ทั้งปัญหาการทำประมงในน่านน้ำที่มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ เนื่องจากเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ลักลอบเข้าไปทำการประมงในเขตชายฝั่ง จนทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือประมงของชาวประมงพื้นบ้าน การจับทรัพยากรสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำไทยของเรือประมงไทย เนื่องจากการที่เรือประมงไทยมีการไปรุกล้ำน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น มาเลเชีย อินโดนีเชีย พม่า ตลอดจนน่านน้ำอื่น ๆ เช่น เยเมน โซมาเลีย แม้แต่ในทะเลสากล เช่น มหาสมุทรอินเดีย ทำให้มีการเรียกร้องให้ประเทศไทยควบคุมกิจกรรมของเรือประมงไทยดังกล่าว ซึ่งปัญหาเหล่านี้ นับวันจะรุนแรงมากขึ้นจนเกิดกระแสต่อต้านในกลุ่ม NGO ไม่ว่าจะเป็น Greenprece, The Gradain, EJF ทั้งในประเด็นการทำประมงผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ ทำให้เกิดคำถามจากทั่วโลกถึง “ความรับผิดชอบของประเทศไทย”
จากปัญหาที่เกิดขึ้น กรมประมงได้มีแนวคิดที่จะนำระบบ VMS เข้ามาทดลองใช้ในการบริหารจัดการเรือประมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 แต่ไม่สามารถจะดำเนินการได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายในขณะนั้น (พรบ.การประมง2490) และผลจากการไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำ จึงทำให้ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการตามพันธกรณีในฐานะสมาชิก IOTC ได้ ต่อมาภายใต้พระราชกำหนดการประมง 2558 ได้ตราบทบัญญัติให้อำนาจกับภาครัฐในการกำหนดขนาดเรือประมงที่จะต้องติดตั้งระบบติดตามดังกล่าว กรมประมงจึงได้กำหนดให้เรือประมงตั้งแต่ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้ง ระบบติดตามเรือประมง VMS เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเรือกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการทำประมงสูง และมีผลประกอบการมากพอในการจ่ายค่าบริการที่จะเกิดขึ้น (ประมาณ 1,000-2,000 บาท/เดือน) ตลอดจนเป็นเรือประมงที่มีความเสี่ยงที่จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต
ผลของการที่เรือประมงขนาดใหญ่มีการติดตั้ง VMS ส่งผลทำให้ชาวประมงไม่กล้ารุกล้ำเข้าไปทำการประมงในเขตประมงชายฝั่ง โดยเห็นได้จาก 14 เดือนที่ผ่านมา (วันที่ 1 เมษายน 2561 – 31 พฤษภาคม 2562) มีเรือประมงที่ติดVMS ออกไปทำการประมง 367,187 เที่ยว แต่มีเรือที่ถูกจับเนื่องจากเข้าทำการประมงในเขตชายฝั่งหรือเขตห้ามทำการประมงเพียง 41 คดี จะเห็นได้ชัดว่าชาวประมงส่วนใหญ่ปฎิบัติตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามยังมีเรือประมงบางกลุ่มที่ชอบทำการประมงแบบเลาะเขตซึ่งหากเผลอหลุดเข้าไปในเขตอาจเป็นคดีได้ และผลลัพท์ที่เกิดขึ้นที่เห็นชัดเจนจากการที่เรือประมงขนาดใหญ่ไม่เข้าไปทำการประมงในเขตชายฝั่งคือ ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้และการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นมาเลเชีย อินโดนีเชีย และพม่า ได้ให้การยอมรับประเทศไทยในฐานะ “รัฐเจ้าของธง” ในการควบคุมเรือประมงไทยไม่ให้ไปลุกล้ำน่านน้ำเพื่อนบ้าน
อย่างไรก็ตาม เรือประมงบางส่วนยังคงมีความพยายามที่จะ “ เลี่ยงติดตั้ง VMS ” บนเรือประมง เห็นได้จากในรอบ 14 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีคดีที่เรือประมงมีการย้าย VMS ของตนเองไปติดตั้งยังเรือประมงลำอื่นทั้งสิ้น 8 คดี ซึ่งการกระทำดังกล่าวแสดงถึง “เจตนา” ในการที่จะกระทำผิดอย่างชัดเจน รวมถึงเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า “ VMS มีความสำคัญมากเพียงใดในการก่อให้เกิดความเป็นธรรม ”
อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้ายว่า มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมานั้นไม่ได้ยาก แต่เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานจากในอดีต เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรบริเวณชายฝั่ง และที่สำคัญที่สุดคือการสร้าง “ความเป็นธรรม” ในการทำการประมง และไม่ว่ากฎจะออกมาน้อยหรือมากเพียงใด ก็ยังมีคนพร้อมที่จะแหกกฎระเบียบ เพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งเป็นการเอาเปรียบชาวประมงด้วยกัน และทำให้ต้องมีกติกาที่รัดกุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องได้รับผลกระทบมากขึ้นด้วย แต่หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันอย่างแท้จริงแล้วกฎระเบียบอาจไม่จำเป็น อนาคตการทำประมงของทะเลไทยก็จะมุ่งไปสู่ความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับของประเทศเพื่อนบ้านและสากล อันจะก่อให้เกิดการยอมรับเรือประมงไทยหรือผู้ประกอบการประมงไทยเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำต่างประเทศได้ต่อไป
บทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง VMS
1) ไม่สามารถออกทำประมงได้ทั้งในเขตน่านน้ำ และนอกน่านน้ำไทย
2) เรือที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายต้องติดตั้งอุปกรณ์ VMS หากไม่ดำเนินการติดตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบดังกล่าว จึงขอเชิญชวนให้เจ้าของเรือประมงเร่งติดตั้ง อุปกรณ์ VMS และดูแลให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
ประโยชน์ของระบบติดตามเรือประมง VMS
เจ้าของเรือสามารถติดตามตำแหน่งที่อยู่ของเรือประมงได้ตลอดเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต
เมื่อทราบตำแหน่งเรือได้ตลอดเวลาแล้ว หากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันที เรือประมงจะได้รับการค้นหาและช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
ใช้เป็นหลักฐาน ที่ทางราชการมิอาจปฏิเสธได้ หากเรือประสบภัยทางธรรมชาติ จะได้รับการชดเชยจากภาครัฐ เช่น ค่าเรือจม ค่ากู้เรือ และค่าซ่อมเรือ เป็นต้น
ข้อมูลเส้นทางเดินเรือสามารถนำมาวางแผนการทำประมงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เช่น วางแผนเส้นทางเดินเรือให้ประหยัดน้ำมัน หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย เป็นต้น
ข้อมูลจากระบบ VMS จะเชื่อมโยงกับระบบสมุดบันทึกการทำการประมงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วย
เพื่อยกระดับการประมงไทยสู่มาตรฐานสากล และเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรทางทะเล
หลักการทำงานของ VMS
หลักการทำงานของระบบติดตามตำแหน่งเรือประมง ประกอบด้วยอุปกรณ์ติดตามเรือ VMS ที่ติดตั้งอยู่บนเรือประมง โดยข้อมูลตำแหน่งเรือประมงแต่ละลำจะได้จากระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global navigation Satellite System : GNSS) และส่งมายังผู้ใช้งานผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมได้ 3 แบบ คือ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Global Service Mobile Communication : GSM) ความถี่วิทยุ AIS (Auto indentification System : AIS) และเครือข่ายดาวเทียมสื่อสาร (Satellite Service Provider) ซึ่งทั้ง 3 ระบบมีความเหมาะสมกับเรือประมงแต่ละประเภท และขึ้นอยู่กับแหล่งทำการประมง รวมถึงระยะห่างจากชายฝั่งทะเลด้วย
โดยข้อมูลที่ระบบทำการรายงานนั้นประกอบด้วยข้อมูลที่ตั้งของเรือ ทิศทาง และ ความเร็ว เป็นต้น โดยระบบจะทำการรายงานข้อมูลมาที่ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์การประมง กรมประมง แบบอัตโนมัติ และการใช้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งเจ้าของเรือสามารถติดตามดูได้เฉพาะเรือหรือกลุ่มเรือของตนเองเท่านั้น โดยสามารถติดตามผ่านโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต โดยขอรับรหัสผ่าน (User name และ Pass word) เพื่อเข้าใช้งานระบบได้ที่กรมประมง
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง VMS
สำหรับผู้ประกอบการเรือประมงที่มีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง VMS ที่อาจจะสูงนั้น ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายมากมาย ทำให้ราคาไม่แพง เพียงแค่ 20,000 กว่าบาทเท่านั้น และ อายฟลีต ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการและจัดจำหน่ายเช่นกัน ซึ่งอุปกรณ์และระบบติดตามเรือ VMS ของเรา ผ่านการรับรองจากกรมประมง เป็นมาตรฐานสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกใช้กัน
ระบบติดตามเรือประมง VMS คืออะไร?
ระบบติดตามตำแหน่งเรือประมง หรือ VMS คือ ระบบที่อาศัยอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคอยรับ-สัญญาณจากดาวเทียม และศูนย์รับสัญญาณบนฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการทราบและติดตามตำแหน่งเรือประมง ซึ่งในประเทศไทยได้มีการพัฒนาโดยกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของเรือประมงไทยในปัจจุบัน โดยระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out) ในพื้นที่ครอบคลุม 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการติดตาม ควบคุม และตรวจตราเฝ้าระวัง (MCS) รวมถึงการแจ้งเข้าออกท่าเรือประมง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม กำกับ ดูแลการทำประมงของเรือประมงให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นที่น่าเชื่อถือตามหลักสากล และเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล
ด้วยข้อดีต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ระบบติดตามเรือ VMS ถูกนำมาใช้กับเรือประมงและระบบการขนส่งทางเรือ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้การเดินเรือมีความปลอดภัยมากขึ้น และสามารถทำการประมงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยทางภาครัฐจะคอยช่วยเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ รวมถึงจะได้รับสิทธิ์จากมาตรการช่วยเหลือจากทางรัฐบาล และที่สำคัญคือช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในการทำประมงถูกกฎหมายด้วย
สนใจติดตั้ง ระบบติดตามเรือ VMS ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @eyefleet | โทร. 02-052-4466 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ VMS Thailand ระบบติดตามเรือที่ดีที่สุดในไทย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง