ขับขี่ปลอดภัย มองทางไม่ใช่มองจอ

ขับขี่ปลอดภัย

การใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน วันนี้ อายฟลีต จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับโทษภัยของการใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ และสิ่งที่ควรปฏิบัติหากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ เพื่อให้ทุกคนเพิ่มความระมัดระวัง ขับขี่ปลอดภัย และถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ

ารบัญ

คุยไป ขับรถไป ส่งผลเสียอย่างไร?

เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ จนลืมคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและเพื่อนร่วมทาง ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียตามมาอีกมากมาย ดังนี้

1. ขาดสมาธิในการขับขี่เท่าที่ควร

การใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ จะทำให้ผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิในการขับเท่าที่ควร เพราะต้องแบ่งความสนใจหรือมีอารมณ์ร่วมอยู่ในการพูดคุยกับคนปลายสาย จึงทำให้ตัดสินใจผิดหรือตัดสินใจได้ไม่ทันต่อเหตุการณ์

ผลจากการวิจัยชี้ อันตรายในการขับขี่ร่วมกับการใช้โทรศัพท์ในต่างประเทศมีการศึกษาประเด็นนี้ ด้วยการสร้างสถานการณ์เสมือนจริง โดยให้ผู้ขับขี่กลุ่มที่หนึ่งคุยโทรศัพท์มือถือไปพร้อมกับขับรถ กลุ่มที่สองให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกินกว่า 0.08 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มควบคุม คือไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์และห้ามคุยโทรศัพท์ระหว่างการขับขี่

ผลปรากฏว่า คนกลุ่มที่หนึ่ง คุยโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากกว่าคนกลุ่มที่สองและกลุ่มที่สาม ถึง 5.36 เท่า เรียกได้ว่าเป็นผลที่เกินความคาดหมาย เนื่องจากคนทั่วไปคิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น่าจะมีผลต่อการขับขี่สูงที่สุด ดังนั้น การขับขี่รถยนต์และพาหนะใด ๆ ก็ตาม ต้องตระหนักถึงความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการใช้โทรศัพท์มือถือควบคู่ไปด้วย เนื่องจากการขาดสมาธิและการตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

52% เคยหรือเกือบประสบอุบัติเหตุจากการแชทหรือรับโทรศัพท์ เนื่องจากขาดสมาธิ

Play Phone

2. มีโอกาสสูงที่จะเกิดการเบรกอย่างกะทันหัน

การคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ มีโอกาสสูงที่จะเกิดการเบรกอย่างกะทันหัน เพราะผู้ขับจะมีปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การตัดสินใจเหยียบเบรก การบังคับพวงมาลัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็ช้าลงกว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น บริเวณทางม้าลายที่มีคนเดินข้ามถนนอย่างไม่ทันระวัง และการจอดอย่างกระชั้นชิดตรงป้ายสัญญาณไฟจราจร เนื่องจากผู้ขับไม่ทันสังเกตป้ายเตือนหรือสัญญาณไฟที่ต้องเตรียมชะลอความเร็วจากระยะไกล จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนจากรถที่ขับตามหลังมาจนเกิดการเฉี่ยวชนกันได้


3. ทำให้ละสายตาจากถนน

การที่ผู้ขับมีใจจดจ่อกับการพิมพ์แชทโต้ตอบบุคคลปลายทาง เป็นสิ่งที่ทำให้ต้องละสายตาจากถนน ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพียงชั่วพริบตาเดียว อาจมีคนกำลังข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย โดยเฉพาะบริเวณเขตชุมชนและหน้าโรงเรียนที่มีเด็กเล็กและผู้คนพลุกพล่าน แม้จะมีป้ายเตือนเขตโรงเรียนและมียางชะลอความเร็วติดตั้งอยู่ที่พื้นถนน แต่ก็เคยเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตกันมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน

อ่านแชท 6 วินาที = ขับรถไม่มองถนน 100 เมตร แม้จะเป็นช่วงเวลาการใช้งานสั้น ๆ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยที่คุณไม่ทันตั้งตัว 

การพิมพ์ข้อความขณะขับ เสี่ยงมากกว่า เมาแล้วขับถึง 6 เท่า เนื่องจากทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิในการควบคุมรถ ความสนใจต่อเหตุการณ์รอบตัวก็ลดลง ส่งผลต่อการมองเห็นป้ายสัญลักษณ์ ป้ายจราจร ป้ายบอกทาง หรือแม้จะเห็นป้ายแต่ก็จดจำรายละเอียดไม่ค่อยได้ จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่าขับขี่ปกติถึง 23 เท่า

Talking on phone

4. คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ ผิดกฎหมาย 

ทราบหรือไม่ว่า การเล่นโทรศัพท์ขณะรถติดหรือติดไฟแดง ถือว่ามีความผิด ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ดูหรือพิมพ์ข้อความ เพราะถือว่ายังอยู่ระหว่างการขับขี่ เครื่องยนต์ยังติดอยู่ และการคุยโทรศัพท์ขณะรถเคลื่อนที่โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริม มีโทษปรับ 500 บาท (มาตรา 43 (9) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522)

สิ่งที่ควรทำเมื่อรู้ว่าจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์

การคุยหรือเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะขับรถ ถือเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงเกิดอันตรายและผิดกฎหมาย ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อธุระหรือนัดหมาย ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้  

1. ใช้อุปกรณ์เสริม

เช่น Smalltalk ชุดหูฟัง หรือใช้แท่นวางมือถือแบบติดที่คอนโซลหน้ารถ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่ต้องถือโทรศัพท์ในขณะขับรถ จึงช่วยให้จับพวงมาลัยและบังคับทิศทางรถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2. จอดรถชิดข้างทางเพื่อหยุดคุยโทรศัพท์ 

ควรเลือกบริเวณที่ห่างไกลจากจุดที่การจราจรแออัด หากมีปั้มน้ำมันหรือร้านค้าสะดวกซื้อพร้อมลานจอดรถอยู่ใกล้ ๆ ก็ควรเลือกจอดในบริเวณนั้น

3. ในเวลากลางคืน

หากมีความจำเป็นต้องจอดรถเพื่อคุยโทรศัพท์ แนะนำให้เลือกบริเวณที่ไม่เปลี่ยวและมีไฟถนนส่องสว่างเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกรถยนต์คันอื่นชนท้ายหรือถูกโจรกรรมทรัพย์สิน

4. การรับข้อความทางไลน์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ

ควรรอให้ถึงที่หมายหรือที่ที่สามารถจอดรถได้อย่างปลอดภัย แล้วค่อยหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู ถือเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้มากทีเดียว

Smalltalk

เทคโนโลยีช่วยได้

  • DMS ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่

ต้องยอมรับเลยว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น สามารถช่วยในการขับขี่ยานพาหนะให้ปลอดภัยขึ้นได้จริง อย่าง ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ (EyeFleet DMS) เป็นระบบตรวจจับใบหน้าของคนขับด้วยรังสีอินฟาเรด ทำหน้าที่ประมวลผลภาพและวิเคราะห์พฤติกรรม เมื่อตรวจพบพฤติกรรมที่เสี่ยงจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ ระบบจะส่งเสียงเตือนและแนะนำให้คนขับหยุดพักทันที รวมทั้งแจ้งกลับไปยังต้นสังกัดให้ด้วย ซึ่งนิยมใช้ติดตั้งในรถบรรทุกขนส่งและรถโดยสารเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใครที่ต้องขับรถคนเดียวบ่อย ๆ แนะนำเลยครับ เพราะสามารถติดตั้งได้กับยานพาหนะทุกประเภท ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถขนส่งในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ

ส่งสัญญาณเตือนเมื่อเกิดพฤติกรรมเหล่านี้

  1. การหาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย 
  2. การหลับตา
  3. ไม่มองเส้นทางการขับขี่
  4. คุยโทรศัพท์ในขณะขับรถ
  5. การสูบบุหรี่
  6. ตรวจไม่พบคนขับ
DMS EyeFleet
  • ADAS ระบบขับขี่ปลอดภัย

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ของคุณไปอีกขั้น คือ ระบบขับขี่ปลอดภัย (EyeFleet ADAS) ช่วยป้องกัน หลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในขณะขับรถ ด้วยการส่งสัญญาณเตือนเมื่ออยู่ในสภาวะที่อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และสามารถใช้งานได้กับยานพาหนะทุกประเภท

ส่งสัญญาณเตือนเมื่อเกิดพฤติกรรมเหล่านี้

  1. แจ้งเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนเลนกะทันหัน
  2. แจ้งเตือนเมื่อมีขับรถระยะกระชั้นชิด
  3. แจ้งเตือนเมื่อระยะห่างจากรถคันหน้าผิดปกติ
  4. แจ้งเตือนเมื่อมีคนข้ามถนนหรือเดินตัดหน้ารถ
EyeFleet Adas

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะช่วยกระตุ้นให้หลาย ๆ คน เห็นถึงความสำคัญของการมีสติและสมาธิในการขับรถมากยิ่งขึ้น งดการคุยหรือเล่นโทรศัพท์ในขณะขับขี่ เพราะเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและผิดกฎหมาย นอกจากจะเพิ่มความระมัดระวังและรักษาวินัยการจราจรอย่างเคร่งครัดแล้ว การติดตั้ง ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ และ ระบบขับขี่ปลอดภัย ถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยเตือนสติเราในยามที่เกิดเหตุการณ์คับขัน จึงช่วยลดอัตราการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ (EyeFleet DMS) และ ระบบขับขี่ปลอดภัย (EyeFleet ADAS) หรือสอบถามได้ที่ Line: @eyefleet  โทร. 02-052-4466

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.