นักปั่นทุกคนคงจะเคยจอดจักรยานทิ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ แต่พอกลับมา จักรยานก็หายไปซะแล้ว ซึ่งบางคนมองว่าเป็นเพราะระบบอำนวยความสะดวกของจักรยานในบ้านเรายังไม่ดีพอ โดยเฉพาะที่จอดที่ปลอดภัย เช่น ตามสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และเอ็มอาร์ที เป็นต้น ซึ่งหลาย ๆ คนที่หันมาใช้จักรยานแทนรถยนต์ พอเกิดเหตุการณ์ จักรยานหาย จึงเสียความรู้สึกและเลิกปั่นไปในที่สุด วันนี้ อายฟลีต จึงขอแนะนำวิธีป้องกัน จักรยานหาย และวิธีปฏิบัติหลังจากที่จักรยานหายแล้วว่าควรทำอย่างไรมาฝากทุกท่าน ตามไปดูกันในบทความได้เลยครับ
สารบัญ
ปัญหาจักรยานหาย
รถจักรยานถือเป็นยานพาหนะที่มีความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยเหตุเพราะเทรนรักสุขภาพที่กำลังมา จึงนิยมปั่นออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ หรือบางคนบ้านใกล้ก็ปั่นไปทำงาน ยันจ่ายตลาด และด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตา ดูดีมีราคา จึงเป็นที่หมายปองของเหล่ามิจฉาชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหา “ จักรยานหาย ” จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสร้างความวิตกกังวลให้แก่นักปั่นจักรยานเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพฤติกรรมการก่อเหตุลักจักรยานนั้นมีความหลากหลาย ทั้งในแง่ของสถานที่ ประเภทรถ และวิธีการขโมย
สถานที่ที่จักรยานมักจะหาย
ที่พักอาศัย
จักรยานหายในที่พักอาศัย เช่น หมู่บ้านจัดสรร คอนโด หอพัก โดยคนร้ายมักจะสะกดรอยดูเจ้าของรถว่าบ้านอยู่ซอยไหน หลังไหน ไม่ก็อาจบังเอิญเดินผ่านหน้าบ้านแล้วเห็นจักรยานจอดล่อตาล่อใจ เลยสบโอกาสปีนเข้ามาขโมยทันที
อย่างเช่นกรณีของหนุ่มนักปั่นท่านหนึ่ง เล่าว่า ” จักรยานเสือหมอบยี่ห้อ scott รุ่น Speedster 20 ถูกขโมยไปตั้งแต่เดือน ก.ย. 2558 จนตอนนี้ยังไม่มีหวังว่าจะได้คืน โดยปกติจะจอดรถในรั้วบ้าน จอดพิงเฉย ๆ ไม่ได้ล็อค ตื่นมาตกใจไม่เห็นรถเลยไปแจ้งความ และได้ดูกล้องวงจรปิดในซอย พบว่าคนร้ายเดินมาดูลาดเลาก่อนจะปีนเข้ามายกจักรยาน ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 นาที ผมชะล่าใจไปหน่อย คิดว่าจอดในรั้วบ้านคงปลอดภัย เลยไม่ได้ล็อก ไม่ได้คลุมผ้าอะไรทั้งนั้น ซึ่งขโมยบางคนมันไม่ได้สนใจหรอกว่าจักรยานจะถูกหรือแพง ขอแค่ขโมยง่ายมันก็เอาแล้ว “
สถานที่สาธารณะ
จักรยานหายในที่สาธารณะ เช่น ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ที่จอดรถในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที สวนสาธารณะ และมหาวิทยาลัย เพราะไม่มียามคอยเฝ้าในบริเวณดังกล่าว อย่างเช่นกรณีข่าวดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ห้วยขวาง จับกุมหัวขโมยจักรยาน และรับสารภาพว่า เคยก่อเหตุขโมยจักรยานที่จอดไว้บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรม รวมกว่า 50 คัน ก่อนนำไปขายต่อคันละ 1,000-1,500 บาท
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2556 ตำรวจสน.ทองหล่อ รวบผู้ต้องหาพร้อมอุปกรณ์คีมตัดเหล็ก พฤติการณ์คนร้ายจะนั่งรถเมล์ตระเวนไปตามถนนสุขุมวิท ซึ่งย่านดังกล่าวมีผู้นิยมใช้รถจักรยานเป็นจำนวนมาก ก่อนตัดโซ่ที่ล็อครถไว้ แล้วแยกชิ้นส่วนไปขายที่ตลาดนัดคลองถม
ซึ่งทุกวันนี้แทบจะไม่มีใครกล้าจอดจักรยานในที่สาธารณะกันแล้ว และเท่าที่สังเกต นักปั่นมือใหม่จะถูกขโมยบ่อยสุด เนื่องจากไม่ค่อยระมัดระวัง ไม่ใส่ใจเรื่องรถหาย คิดว่าจอดแป๊บเดียวคงไม่เป็นไร บางคนลืมล็อค เผลอแป๊บเดียวรถไม่อยู่แล้ว

นักปั่นด้วยกันนี่แหละน่ากลัวที่สุด
สำหรับหัวขโมยที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องจักรยาน รู้ยี่ห้อ รู้รุ่น รู้ราคา ยันอุปกรณ์เสริม อะไหล่ทุกชิ้น กลุ่มนี้จัดว่าเป็น “มืออาชีพ” น่ากลัวกว่าหัวขโมยทั่วไป ซึ่งดีไม่ดีอาจเป็นนักปั่นด้วยกันนี่แหละ เนื่องจากปัจจุบันมีกลุ่มจักรยานมากมาย โดยคนร้ายแค่ไปขอเข้ากลุ่ม ก็จะเห็นจักรยานสวย ๆ ของเพื่อนสมาชิก พอเห็นเขาคุยกันเรื่องรถแพง เรื่องอุปกรณ์ หรืออะไหล่แพง ๆ ก็แค่จำชื่อแล้วไปเสิร์ชกูเกิล ก็รู้แล้วว่าราคาเท่าไหร่
พอขโมยมาแล้วอาจนำไปดัดแปลงสภาพให้แตกต่างไปจากเดิม หรือแยกชิ้นส่วนอะไหล่ ตั้งแต่ เฟรม ล้อ บันได ชุดเกียร์ เบาะ โช้ค จาน เบรค และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ นำไปขายตามตลาดนัดมือสอง หรือบนเว็บไซต์ ซึ่งบางคนเจอพ่อค้าตลาดมืดอย่างคลองถม หรือตลาดนัดต่าง ๆ จะบอกว่าจักรยานยี่ห้อไหนรุ่นไหนกำลังดัง อะไหล่ชิ้นไหนราคาแพง ถ้ามีแบบนี้ก็เอามาขายได้เลยจะรับซื้อ ทำให้พวกขโมยพูดกันปากต่อปากแล้วควานหามาขายจนได้ เมื่อนำมาขายพวกพ่อค้าก็จะมีกลุ่มคนปั่นจักรยานบางคนซื้อไปขายทางออนไลน์อีกทอด

เมื่อจักรยานหายแล้วควรทำอย่างไร?
ผู้ก่อตั้งเพจเฟซบุ๊ก “จักรยานหาย ช่วยกันหา” ได้อธิบายขั้นตอนการแจ้งเบาะแสหลังจากรถหายไว้อย่างน่าสนใจว่า
“อันดับแรก รีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ จากนั้นเข้าไปยังเพจเฟซบุ๊ก หรือกลุ่มต่าง ๆ ที่มีนักปั่นจักรยานรวมตัวกันเยอะ ๆ แจ้งข้อมูลจักรยานอย่างละเอียด เช่น ภาพถ่าย รูปพรรณสัณฐาน ยี่ห้อ รุ่น ตำหนิ สี ของแต่ง หายที่ไหน ช่วงเวลาใด วันที่เท่าไหร่ รวมถึงตำแหน่งที่หายก็สำคัญ เพราะจะได้รู้ว่ายังไปไม่ไกลจากพื้นที่ พร้อมลงชื่อ-เบอร์โทรติดต่อกลับด้วย และแชร์ต่อทันที ซึ่งสามารถช่วยตามหาจักรยานจนเจอมาได้หลายคันแล้ว”
วิธีป้องกันจักรยานหาย ไม่ให้ถูกขโมยง่าย ๆ
1. จอดในสถานที่ที่มีจักรยานคันอื่นจอดอยู่ด้วย
เพราะทำให้เป็นเป้าหมายน้อยกว่าจอดอวดโฉมอยู่หนึ่งเดียว
2. จอดจักรยานไว้ในสถานที่ซึ่งมองเห็นได้ง่ายหรือเห็นได้ตลอดเวลา
เพราะเมื่อเราล็อคจักรยาน การตัดล็อคหรือโซ่จะทำไม่ได้ หรือทำได้ยากขึ้น หากจอดอยู่ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย
3. เมื่อจอดแล้วจะต้องล็อคจักรยานเสมอ
ไม่ว่าจะจอดที่ใด หากเป็นสถานที่ที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ เสียเวลาเพียงเล็กน้อยดีกว่าปล่อยจักรยานที่ไม่ได้ล็อคไว้ล่อตาล่อใจโจร
4. ล็อคจักรยานกับสิ่งที่เคลื่อนย้ายไม่ได้
อย่าล็อคแค่ตัวจักรยานเอง เพราะถึงจะขี่ไปไม่ได้ก็สามารถยกไปได้ทั้งคัน
5. ล็อคกับสถานที่หรือสิ่งที่มั่นใจได้ว่าจะไม่แตกหัก
หรือตัดออกได้ง่าย ๆ ถ้าล็อคกับเสาใด ๆ ก็ต้องมั่นใจว่าจักรยานจะไม่ถูกยกออกจากเสาต้นนั้นได้ถ้าปลายเสาด้านบนเปิดอยู่
6. ลงทุนซื้อล็อคที่คุณภาพสูง
ในเมื่อจักรยานของคุณราคาสูง ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนซื้อล็อคที่คุณภาพสูง ราคาอาจจะแพง แต่ตัดหรือปลดได้ยากมาก โดยค้นหาข้อมูลล็อคที่ดี มีการทดสอบหรือรีวิวจากผู้ใช้งานแล้วว่ามีคุณภาพสูง
7. ให้ล็อครวมล้อกับตัวถังหรือเฟรมด้วยเสมอ
หากใช้ยูล็อค (U-Lock) หรือดีล็อค(D-Lock) ต้องล็อคในตำแหน่งที่ต้องไม่อยู่ใกล้พื้นเกินไป เพราะจะเป็นการช่วยหัวขโมยให้ตัดได้ง่ายขึ้น
8. เก็บอุปกรณ์เสริมและส่วนที่ปลดออกไปได้ง่าย ๆ ติดตัวคุณไปด้วย
เช่น ไฟส่องทาง มาตรวัดความเร็ว-ระยะทาง กระติกน้ำ หมวก ฯลฯ ถ้าถอดอานได้ง่าย ๆ และไม่ลำบากที่จะเอาติดตัวไป ก็ควรถอดอานเอาไปด้วย ยิ่งถอดล้อหน้าเอาไปได้ยิ่งดี จักรยานที่ไม่มีอานหรือไม่มีล้อจะไม่น่าขโมยและขโมยยากขึ้น เพราะคนร้ายจะขี่ไปไม่ได้ ต้องขนขึ้นรถอย่างเดียว และการทำเช่นนั้นก็จะเป็นพิรุธ ทำให้เป็นที่ต้องสงสัยสำหรับรปภ. หรือคนที่พบเห็น
9. อย่าล็อคจักรยานไว้ที่เดิมเป็นประจำ
หัวขโมยจะรู้และเล็งจักรยานของคุณก่อนเป็นอันดับแรก เพราะรู้ช่วงเวลาและสถานที่
10. อย่าล็อคหรือแม้แต่จะจอดจักรยานไว้ที่สถานที่ซึ่งไม่อนุญาตให้จอด
เพราะจักรยานของคุณอาจถูกเจ้าหน้าที่เก็บไป
11. ควรล็อคสองชั้นขึ้นไปและใช้อุปกรณ์ล็อคที่ต่างชนิดกัน
เช่น ตัวหนึ่งเป็นโซ่กับกุญแจ อีกตัวหนึ่งเป็นยูล็อค เพื่อทำให้ยากขึ้นในการตัดหรือปลด
12. ตรวจสอบการล็อคให้ดี
ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่าได้ล็อคจักรยานแน่นหนาดีแล้วก่อนเดินจากไป
13. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับจักรยานของตัวเองเอาไว้เมื่อซื้อหรือได้มา
เช่น ถ่ายรูปจักรยานในมุมต่าง ๆ และหมายเลขตัวถัง (ถ้ามี)
สำหรับคนที่จอดจักรยานไว้ในรั้วบ้าน ควรล็อคจักรยานและหาที่จอดในมุมที่ไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายจากข้างนอก หากไม่ล็อค ไม่คลุมผ้า บางคนแขวนโชว์ไว้บนผนัง จะทำให้โจรเห็นแล้วปีนเข้ามาขโมยได้ง่าย ๆ ส่วนคนที่ชอบเอาจักรยานใส่ท้ายรถ หรือแขวนไว้หลังรถเพื่อนำออกไปปั่นข้างนอก ควรล็อคด้วยอุปกรณ์ที่แข็งแรงแน่นหนา แต่จะให้ดีควรเก็บไว้ในรถเลยจะดีกว่า ถ้าเก็บได้

เพิ่มความปลอดภัยขึ้นอีกระดับด้วย GPS อายฟลีต
อายฟลีต เรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับจักรยานของคุณ ด้วย GPS Portable ที่จะช่วยติดตามตำแหน่งและเส้นทางการเดินทางของจักรยานคุณ โดยสามารถเช็กได้ตลอดเวลาว่าจักรยานของคุณยังจอดอยู่ที่เดิมหรือไม่ ซึ่งหัวขโมยอาจจะยังไม่ทันสังเกตว่าจักรยานคันนี้ติด GPS เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถติดตั้งและซ่อนไว้ในจุดที่หัวขโมยอาจจะสังเกตเห็นได้ยาก เพราะต้องรีบเคลื่อนย้ายจักรยานออกไปให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีใครมาเห็น เมื่อคุณทราบตำแหน่งของจักรยาน ก็จะนำทางคุณไปยังจักรยานที่ถูกขโมยได้ทันที ทำให้การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ง่ายขึ้นด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ EyeFleet GPS Portable

สรุป
ถึงวันนี้ปัญหาจักรยานหายจะยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ และการเลือกจอดในที่ปลอดภัย มีแสงสว่างเพียงพอ มีกล้องวงจรปิด มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยเฝ้า รวมทั้งล็อครถอย่างแน่นหนา เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า รถเราจะอยู่รอดปลอดภัย หากจักรยานหายไปแล้ว ยิ่งปล่อยไว้นานก็ยิ่งยากที่จะตามกลับคืนมาได้ ดังนั้นการติดตั้ง EyeFleet GPS Portable จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้มีโอกาสตามจักรยานกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @eyefleet หรือ โทร. 02-052-4466
อ้างอิงข้อมูลจาก: www.posttoday.com