Maintenance รถดี เพิ่มการขับขี่ให้ปลอดภัย

Maintenance

สำหรับหลาย ๆ คน รถยนต์ถือเป็นสิ่งที่มีค่า เมื่อซื้อมาแล้วก็อยากให้อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ โดยเฉพาะรถใหญ่อย่างรถบรรทุก และรถบัส ที่เป็นเหมือนเครื่องมือทำมาหากิน ดังนั้น การ Maintenance ดูแลรักษารถ เพื่อไม่ให้เสื่อมสภาพไวก่อนถึงเวลาอันสมควร จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถทุกคนพึงกระทำ ทาง อายฟลีต มีวิธีดูแลรักษารถ เพื่อให้สามารถใช้งานได้นาน ๆ มาฝาก พร้อมเทคโนลีที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่มาแนะนำ จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันในบทความได้เลยครับ

ทำไมถึงต้อง Maintenance บำรุงรักษารถให้ดี?

คุณเคยสังเกตถึงความผิดปกติของรถกันบ้างไหมครับ ยกตัวอย่างเช่น ใช้เวลาสตาร์ทเครื่องยนต์นานกว่าปกติ มีเสียงแปลก ๆ ในขณะขับรถ ได้กลิ่นเหม็นไหม้ หรือมีควันดำออกมาจากท่อไอเสีย รู้ไหมครับว่านั้นคือ สัญญาณอันตรายของรถ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้รถเสื่อมสภาพไว และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุตามมาได้

อย่างกรณีของ รถที่มีควันดำพวยพุ่งออกมาจากท่อไอเสีย ในขณะที่ขับอยู่บนท้องถนน บางทีคันหลังขับตามมาก็แทบจะมองไม่เห็นทาง เสี่ยงขับชนท้ายกัน เหมือนกับข่าวนี้

” เก๋งหวิดชนท้ายรถบรรทุกอ้อย เพราะควันดำท่วมถนน!! “

โดยคนขับรถเก๋งเล่าว่า สาเหตุที่ตนเองมองไม่เห็นรถสิบล้อบรรทุกอ้อยที่ขับอยู่ด้านหน้านั้น เป็นเพราะรถสิบล้อคันดังกล่าว มีการเร่งเครื่องจนปล่อยควันดำออกมาบดบังสายตาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งด้วยสภาพของรถสิบล้อที่บรรทุกอ้อยมาเต็มคันจนใบอ้อยลงไปปิดบังไฟท้ายรถสิบล้อ และทางรถสิบล้อไม่ได้มีการติดป้ายผ้าสีแดงหรือสัญญาณไฟเตือนให้รถที่ขับตามหลังได้เห็น ประกอบกับถนนเส้นนี้ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง ตนจึงไม่สามารถมองเห็นรถสิบล้อบรรทุกอ้อยคันดังกล่าวได้ แต่โชคดีที่ตนขับรถไม่เร็ว เลยสามารถหักหลบออกไปทางด้านขวาได้ทัน จึงไม่เกิดอุบัติเหตุ

Car almost collided with the back of a sugar cane truck

จากข่าวดังกล่าว หากรถบรรทุกอ้อยปฏิบัติตามกฏหมาย ติดป้ายผ้าสีแดงหรือสัญญาณไฟเตือน และไม่บรรทุกของจนล้นออกมาปิดบังไฟท้ายรถ รวมถึงมีการ Maintenance รถดี ดูแลเอาใจใส่สม่ำเสมอ ควันรถก็จะไม่ดำจนบดบังสายตารถคันหลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ใช้รถทุกคน จึงควรหมั่นตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะรถบรรทุกขนส่งสินค้า รถโดยสาร และกลุ่มรถของบริษัท ซึ่งมักจะมีจำนวนยานพาหนะค่อนข้างมาก หากไม่มี ระบบซ่อมบำรุงยานพาหนะที่ดี อาจทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้

ควรตรวจเช็คอะไรบ้าง เพื่อให้รถพร้อมใช้งาน

และขับขี่ได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ?

1. เช็คยางรถ

ยางล้อรถ ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของรถ เพราะต้องสัมผัสกับพื้นถนนตลอดเวลา ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะทำเพียงแค่การมองที่ยาง เพื่อดูว่ายางแบนหรือไม่แบนเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วต้องดูแลไปจนถึงสภาพของดอกยาง หรือร่องรอยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณหน้าผิวยางด้วย ซึ่งหากพบความผิดปกติก็ควรรีบแก้ไขทันที เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

2. เช็คแบตเตอรี่

แบตเตอรี่รถ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รถทำงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้น ก่อนที่จะใช้รถควรตรวจดูแบตเตอรี่ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ และหมั่นทำความสะอาดคราบสกปรกต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนขั้วแบตเตอรี่ออก 

3. เช็คน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องเป็นตัวหล่อลื่นที่ช่วยลดแรงเสียดทาน ซึ่งหากขาดน้ำมันเครื่องอาจทำให้เครื่องยนต์พังได้ ดังนั้น การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น และสามารถเช็คได้ง่าย ๆ ด้วยการดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมา เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่บริเวณปลายของก้านวัด

ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีด “Max กับ Min” แสดงว่าน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับปกติ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป แต่ควรรักษาระดับของน้ำมันเครื่องให้อยู่สูงกว่าครึ่งหนึ่งของขีด  “Max กับ Min” อยู่เสมอ

4. เช็คน้ำมันเบรคและระบบเบรค

หลักจากใช้งานไปสักระยะแล้ว น้ำมันเบรคจะค่อย ๆ เสื่อมอายุการใช้งานและส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น จึงควรมีการเช็คน้ำมันเบรคเป็นประจำทุก ๆ 1 ปี รวมถึงสังเกตอาการผิดปหติต่าง ๆ เช่น เบรกไม่อยู่ เบรกไหล เป็นต้น

5. เช็คระบบไฟส่องสว่าง

ระบบไฟส่องสว่าง คือ ไฟทุกดวงที่ติดมากับรถ จะต้องใช้งานได้ครบทุกจุด สิ่งที่ควรทำเริ่มแรกคือเปิดไฟหน้า จากนั้นลองเปลื่ยนเป็นไฟสูงสลับกัน ต่อมาให้เช็คไฟเลี้ยวทุกดวง ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง แล้วไล่เช็คไฟเบรก ไฟถอยหลัง ไฟตัดหมอก และไฟฉุกเฉิน แสงสว่างจะต้องคมชัด ไม่มัว หากมีอาการผิดปกติให้นำไปซ่อมทันที เพราะเป็นส่วนสำคัญในการใช้รถ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน

6. เช็คระบบหล่อเย็น

ระบบหล่อเย็นสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ โดยสังเกตปริมาณระดับน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งระบบหล่อเย็นควรจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากระบายความร้อนได้ไม่ดีหรือมีปัญหา อาจทำให้เครื่องยนต์น็อคได้

7. เช็คแผ่นกรองอากาศ

แผ่นกรองอากาศ ทำหน้าที่ในการดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไม่ให้เข้าไปยังเครื่องยนต์ ถ้ามีการสะสมในระยะยาวจะส่งผลให้การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ โดยควรมีการล้างและทำความสะอาด หรือเปลี่ยนทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร

8. เช็คที่ปัดน้ำฝน

ที่ปัดน้ำฝนเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม เพราะอาจจะไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้แล้วไม่เช็คเลยจนทำให้ที่ปัดน้ำฝนใช้งานไม่ได้ อาจส่งผลต่อการมองเห็นขณะขับรถ  ดังนั้น ควรหมั่นตรวจเช็คสภาพใบปัด โดยการสัมผัสหรือลูบคมที่ใบปัดเบา ๆ หากรู้สึกสะดุดไม่เรียบหรือมีความแข็งตัว แสดงว่ายางเริ่มเสื่อม และสังเกตได้ด้วยการลองฉีดน้ำที่กระจกแล้วเปิดให้ที่ปัดน้ำฝนทำงาน แล้วลองฟังเสียง ถ้ามีเสียงดังคล้ายกระจกถูกกรีด ปัดไม่สะอาดเป็นเส้น ๆ หรือไม่สามารถกวาดน้ำออกได้เลย ก็แสดงว่ายางใบปัดเสื่อมสภาพแล้ว

ขับรถบรรทุก รถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย และถูกกฎหมาย?

1. รถบรรทุก และรถโดยสาร ต้องติดตั้ง GPS และเครื่องรูดบัตรใบขับขี่ เพื่อแสดงตัวทุกครั้ง

จากประกาศกรมการขนส่งทางบก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559  GPS เป็นอุปกรณ์ที่ถูกกำหนดให้ติดตั้งในรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท, รถตู้ (ยกเว้น รถสองแถว, รถหมวด 4 และรถหมวด 1 ภูมิภาค) , รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ตามโครงการ “ มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS ” เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้กรมการขนส่งทางบกและผู้ประกอบการ สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุลงได้ โดยนอกจากจะต้องติดตั้งเครื่อง GPS Tracking แล้ว ยังมีเครื่องบ่งชี้พนักงานขับรถ หรือเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe Card Reader) สำหรับรูดใบขับขี่ ที่ต้องติดตั้งพร้อมกันด้วย

GPS EyeFleet - Magnetic Card Reader for Truck and Bus

ซึ่งไม่ว่าจะขับรถประเภทไหน แน่นอนว่าต้องมีใบอนุญาตในการขับขี่ แต่ใช่ว่ารถแต่ละประเภทนั้นจะใช้ใบขับขี่เหมือนกัน เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล กับ รถบรรทุก ก็ใช้ใบขับขี่ต่างกัน โดยใบขับขี่รถบรรทุกจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ประเภท บ.2 

ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้ เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว)

  • ประเภท ท.2

ใบอนุญาตประเภทขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับขนส่งเพื่อการค้า ธุรกิจส่วนตัว ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง การขนส่งคน สิ่งของ หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น รถบรรทุกสาธารณะ รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง)

2. ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดจากรถบรรทุกหรือรถโดยสาร ส่วนใหญ่มักมาจากพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงาน ที่ขับรถด้วยความประมาท ใจร้อน ไม่เคารพกฎจราจร เช่น ขับรถเร็วเกินกำหนด ขับแช่เลนขวา และจอดรถในที่ห้ามจอด เป็นต้น กรมการขนส่งฯ จึงมีมาตรการเพิ่มความปลอดภัยด้วยการควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ โดยการติดตั้งระบบ GPS เพื่อติดตามตำแหน่งรถ และติดตามพฤติกรรมการขับขี่ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบติดตามรถ GPS Tracking ได้ทันที

3. ข้อจำกัดในการเดินรถของรถโดยสาร

1.ไม่ให้รถคันใดคันหนึ่งเดินรถประจำเที่ยวใดเที่ยวหนึ่งโดยเฉพาะ (หมุนเป็นรายวัน หรือรายเดือน)

  • ไม่เกิน 300 กิโลเมตร หรือเดินรถได้มากกว่า 1 เที่ยวต่อวัน ให้จัดหมุนเวียนรถเป็นรายวัน
  • เกิน 300 กิโลเมตร หรือเดินรถได้ไม่เกิน 1 เที่ยวต่อวัน ให้จัดหมุนเวียนเป็นรายเดือน

2. นำรถเข้าเดินในเส้นทางตามกำหนดเวลาตลอดจนหยุดและจอดรับส่งผู้โดยสาร ตามจุดที่บริษัทกำหนดไว้

หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 500 – 2,000 บาท หรือพักรถ 3 – 7 วัน

3. การนำรถออกนอกเส้นทาง

  • ต้องขอล่วงหน้าก่อนเดินทาง 7 วัน และต้องมีรถเหลืออยู่ไม่ต่ำกว่าเงื่อนไขจำนวนรถขั้นต่ำ
  • อนุญาตได้เฉพาะเพื่อไปใช้ในธุระส่วนตัว หรือเพื่อการกุศล
  • ต้องได้รับอนุญาตก่อน ยกเว้น

– เกิดเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถเดินรถผ่านเส้นทางนั้นๆได้

– บริษัทอนุญาตให้ทำการเดินรถหมุนเวียนในเส้นทางสายอื่นๆ

– บริษัทมีความจำเป็นต้องนำรถไปเดินในเส้นทางอื่นๆ หรือให้การสนับสนุนแก่ทางราชการ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ

หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท หรือพักรถ ตั้งแต่ 7 – 15 วัน

4. การจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก

การจราจรในกรุงเทพฯ นั้นติดขัดหลายพื้นที่ ทำให้มีกฎหมายออกมา โดยกำหนดห้ามรถบรรทุกวิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้

วิ่งบนทางราบ

  • รถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง 

ห้ามเดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป 

ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป 

ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ

  • รถบรรทุกอื่น ๆ เช่น บรรทุกซุง หรือเสาเข็ม 

ห้ามเดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

วิ่งบนทางด่วน

  • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป 

ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.

  • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป 

ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.

  • รถบรรทุกสารเคมี 

ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

5. น้ำหนักบรรทุก หรือพิกัดน้ำหนักตามที่กฎหมายกำหนด 

กฎหมายน้ําหนักรถบรรทุก เป็นเรื่องที่ต้องรู้ไว้ให้ขึ้นใจ เพราะหากบรรทุกเกินน้ำหนักที่กำหนดไว้ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังสร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น ทำให้ถนนพังและทรุดโทรมได้ง่ายขึ้น ดังนั้น จึงมีการออกมาตรการจำกัดการบรรทุกน้ำหนัก ดังนี้

  • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 9.5 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
  • รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
  • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน

6. มีผ้าคลุมแน่นหนา และมีอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย

เนื่องจากสภาพอากาศอาจมีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างเดินทาง เช่น มีฝนตก หรือมีพายุ ซึ่งจะทำให้สินค้าที่บรรทุกมาได้รับความเสียหาย หรือหล่นลงมาจากรถ ดังนั้น การคลุมผ้าใบจะช่วยป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้ และต้องใช้ผ้าใบสีทึบเท่านั้น เพื่อไม่ให้สะท้อนแสงจนบดบังวิสัยทัศน์ในการมองเห็นของผู้ร่วมทางคนอื่น ๆ 

Canvas Covered for Truck

7. ติดตั้งแถบสะท้อนแสง 

ทำหน้าที่สะท้อนแสงกับไฟหน้าของรถคันอื่น ๆ เพื่อช่วยให้มองเห็นในตอนกลางคืน ซึ่งรถบรรทุกทุกคันจะต้องติดตั้งแถบสะท้อนแสงให้ถูกตำแหน่ง โดยมีการบังคับใช้กับรถบรรทุกที่มีจำนวนเพลา ล้อ และยาง ตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (รถสิบล้อขึ้นไป) ยกเว้นรถลากจูง

Reflective Tape for Truck

8. การจอดรถฉุกเฉินที่ถูกต้อง

กรมการขนส่งฯ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเครื่องหมายหรือสัญญาณไว้ประจำรถ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ชิ้นต่อคัน เพื่อวางบริเวณด้านหน้าและด้านท้ายของรถ ในกรณีที่ต้องจอดรถฉุกเฉิน โดยวางเครื่องหมายหรือสัญญาณในระยะห่างจากรถไม่น้อยกว่า 50 เมตร

  • เครื่องหมายเตือนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

ต้องมีความยาวไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร พร้อมขาตั้งหรือฐานตั้ง ขอบสีแดงสะท้อนแสง ด้านในเครื่องหมายอาจมีพื้นสีขาวและรูปสี่เหลื่ยมผืนผ้าสีดำ หัวท้ายมนในแนวดิ่ง หรือมีแถบสะท้อนแสงสีแดงเพิ่มเติม หรือเป็นพื้นที่เปิดโล่งก็ได้

Warning Triangle for Truck
  • กรวยสะท้อนแสง

ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ฐานตั้งกว้างไม่น้อยกว่า 28 เซนติเมตร พื้นสีส้มตลอดทั้งอัน มีแถบสะท้อนแสงสีขาว กว้างไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร คาดตามแนวนอนโดยรอบอย่างน้อย 1 แถบ

Reflective Cone
  • โคมไฟสัญญาณ

ต้องมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 6 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 24 เซนติเมตร พร้อมขาตั้งหรือฐานตั้ง ส่วนของไฟสัญญาณต้องเป็นสีเหลืองอำพันกะพริบและไฟสีขาว

LED Guardian for Truck

9. ตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

  • เช็คสภาพรถทั้งภายใน และภายนอก รวมถึงห้องเครื่อง ส่วนพ่วง ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง
  • เช็คสัญญาณเตือนต่าง ๆ เช่น เกจ์ความร้อน ไฟแบตเตอรี่ และแรงดันลมเบรก
  • ตรวจและทำความสะอาดไส้กรองอากาศอยู่เสมอ
  • ตรวจสอบระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณ เช่น ไฟหน้า ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ว่าไม่มีดวงไหนที่เสียหรือทำงานผิดปกติ
  • ตรวจสอบลมยางและสภาพของยางทุกเส้น รวมไปถึงยางอะไหล่ด้วย

GPS Tracking อุปกรณ์ติดตามรถ สิ่งสำคัญที่รถบรรทุก รถโดยสาร รถขนส่ง ทุกคันต้องมี

เนื่องจากทางกรมการขนส่งทางบก ได้มีการกำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภทและรถตู้ (ยกเว้น รถสองแถว, รถหมวด 4 และรถหมวด 1 ภูมิภาค) รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ต้องติดตั้งระบบติดตาม GPS Tracking ควบคู่กับการติดตั้งเครื่องรูดใบขับขี่ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับทางศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก เพื่อจัดเก็บข้อมูลรถ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อกำหนดมาตรการในการลดและป้องกันอุบัติเหตุ อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่อบริหารจัดการ การขนส่งให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

สำหรับผู้ที่กำลังมองหา ระบบติดตามรถ GPS ที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก เราขอแนะนำ EyeFleet GPS Tracking หนึ่งในผู้ให้บริการจีพีเอสติดตามรถที่ดีที่สุดในไทย สามารถใช้ได้กับยานพาหนะทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก เทรลเลอร์ รถบัส รถโดยสาร รถตู้ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ จักรยาน และเรือ ช่วยให้การติดตามของคุณเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟังก์ชันที่หลากหลาย ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพสูง

EyeFleet GPS Tracking and Magnetic Card Reader

คุณสมบัติเด่น ของ EyeFleet GPS Tracking

ADAS กับการเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

ADAS คืออะไร ?

ADAS หรือ Advanced Driver Assistance System คือ ระบบขับขี่ปลอดภัยอัจฉริยะ ที่ช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย โดย ADAS จะช่วยตรวจจับสภาพแวดล้อมด้านหน้ารถ เพื่อให้รถขับเคลื่อนอยู่ในเส้นจราจรอย่างถูกต้องและปลอดภัย สามารถใช้ได้กับยานพาหนะทุกประเภท ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถในกลุ่มธุรกิจ เช่น รถบรรทุก รถเทรลเลอร์ รถโดยสารสาธารณะ รถตู้ เป็นต้น

EyeFleet Adas

เริ่มต้นใช้งาน ADAS อย่างไร ?

เริ่มต้นเพียงนำตัวกล้อง ADAS ไปติดตั้งบริเวณคอนโซลหน้ารถ โดยระบบจะเริ่มทำงานหลังจากที่สตาร์ทเครื่องยนต์ และเริ่มประมวลผลจากวิสัยทัศน์ทางด้านหน้ารถ เมื่อตรวจพบลักษณะที่ตรงตามเงื่อนไขในระบบ ก็จะส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบเสียงทันที โดยไม่ต้องสัมผัสหรือกดปุ่มใด ๆ

ระบบจะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจพบพฤติกรรมการขับขี่เหล่านี้

  • เปลี่ยนเลนกะทันหัน (Lane Departure Warning)

เมื่อใดก็ตามที่รถของคุณเริ่มเปลี่ยนเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ ระบบจะส่งเสียงเตือนให้รักษาตำแหน่งรถให้อยู่ในเลน โดยฟังก์ชันนี้จะทำงานที่ความเร็วเกิน 90 km./hr.

  • ขับรถระยะกระชั้นชิด (Forward Collision Warning)

หากขับรถกระชั้นชิดคันหน้ามากเกินไป ระบบจะส่งเสียงเตือนให้ถอยห่างจากรถคันหน้าจนกว่าจะอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

  • ระยะห่างจากรถคันหน้าผิดปกติ (Headway Monitoring Warning)

ในกรณีที่ผู้ขับวอกแวกหรือหลับในอยู่ ทำให้ระยะห่างจากคันหน้าห่างเกินไป ระบบจะส่งเสียงเตือนให้คนขับรู้ตัวทันที

  • มีคนข้ามถนนหรือเดินตัดหน้ารถ (Pedeatrian Collision Warning)

หากมีคนเดินข้ามถนน หรือเจอคนข้ามในมุมที่อาจไม่ทันสังเกต ระบบจะส่งเสียงเตือนเพื่อให้เบรกรถได้ทัน หรือชะลอรถให้มีความเร็วลดลง

DMS ตรวจจับการหลับใน เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่

DMS คืออะไร ?

DMS หรือ Driver Monitoring System คือ ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ โดยมีเซนเซอร์ตรวจจับใบหน้าบุคคลด้วยรังสีอินฟาเรด ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลภาพและวิเคราะห์พฤติกรรม หากตรวจพบอาการเหนื่อยล้า หาว หลับใน ละสายตาจากถนน การคุยโทรศัพท์ และการสูบบุหรี่ ขณะขับรถ ระบบจะส่งเสียงเตือนและแนะนำให้คนขับหยุดพักทันที

DMS EyeFleet

เริ่มต้นใช้งาน DMS อย่างไร ?

ระบบ DMS จะเริ่มทำงานหลังจากที่สตาร์ทเครื่องยนต์ โดยตรวจดูพฤติกรรมด้วยเทคโนโลยีการตรวจจับใบหน้าและม่านตาแล้วประมวลภาพ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ขับขี่ หากตรงกับลักษณะของอาการอ่อนเพลีย ระบบจะส่งสัญญาณเตือนในรูปแบบเสียง อีกทั้งยังสามารถแยกแยะอาการหลับในที่แท้จริงกับอาการหลับที่เป็นธรรมชาติ จึงช่วยลดการเตือนที่ผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบจะส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจพบพฤติกรรมการเหล่านี้

  • หาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย

ตรวจสอบการแสดงออกทางสีหน้าของผู้ขับขี่ เมื่อผู้ขับขี่หาวซ้ำ (ค่าเริ่มต้น 0.5s) และเมื่อผู้ขับขี่ก้มศีรษะต่ำในช่วงเวลาหนึ่ง (ค่าเริ่มต้น 1.0s)

  • หลับตา

เมื่อตรวจพบว่าคนขับหลับตา ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ค่าเริ่มต้น 1.5s) ระบบจะทำการแจ้งเตือน โดยสามารถแยกแยะการหลับในที่แท้จริงหรือการนอนหลับที่ไม่เป็นธรรมชาติ จึงช่วยลดการเตือนที่ผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ไม่มองเส้นทาง

เมื่อสายตาของผู้ขับขี่ออกนอกเส้นทางเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ค่าเริ่มต้น 1.0s) ระบบจะทำการแจ้งเตือน

  • คุยโทรศัพท์

แจ้งเตือนเมื่อพบว่าคนขับคุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถ

  • สูบบุหรี่

แจ้งเตือนเมื่อพบว่าคนขับสูบบุหรี่ระหว่างขับรถ

EyeFleet Maintenance

ตัวช่วยบำรุงรักษารถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ใช้รถหลาย ๆ คนมักจะละเลยการดูแลรถ เพราะคิดว่ายังไม่พัง ไม่ต้องเอาไปซ่อมก็ได้ ซึ่งการทำแบบนั้นจะยิ่งส่งผลให้อายุการใช้งานลดลง และเสี่ยงต่อการเสียค่าซ่อมแซมที่สูงขึ้น  อีกทั้งอาจทำให้เกิดอันตรายขณะขับรถได้ อายฟลีต จึงขอแนะนำ ระบบบริหารงานซ่อมบำรุงยานพาหนะ (EyeFleet Maintenance) ตัวช่วยในการวางแผนงานซ่อมบำรุงรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ

EyeFleet Maintenance for iPad
  • วางแผนงานซ่อมบำรุงล่วงหน้า

เนื่องจากเป็นเหมือนระบบศูนย์กลางของข้อมูลที่เกี่ยวกับยานพาหนะขององค์กร จึงช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างแผนงานซ่อมบำรุงล่วงหน้าได้ อีกทั้งผู้บริหารและพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูล พร้อมติดตามงานซ่อมบำรุงได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว

  • ลดต้นทุนในการซ่อมบำรุง

มีระบบแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดการเข้าบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานยานพาหนะ  ไม่ให้เสียบ่อย และช่วยประหยัดค่าซ่อมแซมยานพาหนะให้กับองค์กรได้ด้วย

  • ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

หากนำยานพาหนะเข้าซ่อมบำรุงตามกำหนดการ ยานพาหนะก็จะคงอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา จึงช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

  • นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอด

ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกจัดเก็บในระบบ สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อพัฒนาแผนการบำรุงรักษายานพาหนะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ระบบบริหารงานซ่อมบำรุงยานพาหนะ (EyeFleet Maintenance)

สรุป

การหมั่นดูแลรักษารถอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานของรถ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะรถที่มีน้ำหนักมากอย่างรถบรรทุกและรถบัส การดูแลอย่างถูกต้องจะสามารถช่วยลดต้นทุนและป้องกันค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซ่อมแซ่มได้ โดยข้อแนะนำดังกล่าวจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ และผู้ขับขี่สามารถใช้งานรถได้อย่างคุ้มค่า และปลอดภัย 

ทั้งนี้ ระบบบริหารงานซ่อมบำรุงยานพาหนะ (EyeFleet Maintenance) , ระบบติดตามรถ GPS Tracking , ADAS ระบบขับขี่ปลอดภัย และ DMS ระบบตรวจจับความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับยานพาหนะ  และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าคุณจะเดินทางไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัยด้วย หากพร้อมให้เราเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ ติดต่อมาได้ที่ Line: @eyefleet หรือ โทร. 02-052-4466

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : today.line.me  และ home.transport.co.th

 

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.